ซูเปอร์กระทงไฮเทคAEC...หนึ่งเดียวในโลก
ประเพณีไทยที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักของคนไทยและทั่วโลกด้วยความหมายในการแสดงถึงกตัญญุตาที่มีต่อพระแม่คงคาและความงดงามของศิลปวัฒนธรรม ก็คืองานลอยกระทง ที่สร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทยไปทั่วโลก
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (Suchatvee Suwansawat)คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า “ ก่อนวันลอยกระทง1วัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้นำงานวิจัยนวัตกรรมที่ก้าวล้ำด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นสถาบันบ่มเพาะวิศวกรที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ได้จัดงานแถลงเปิดตัว "ซูเปอร์กระทงไฮเทคAEC2012...หนึ่งเดียวในโลก" ตื่นตาตื่นใจกับสุดยอดซูเปอร์กระทงขนาด 1.80 เมตรที่มีความแปลกใหม่ด้วยไอเดียกระทงรูปดอกบัวให้สามารถคลี่บานและหมุนเคลื่อนไหวด้วยลีลาสวยงามพร้อมแสงสีตระการตา สร้างสรรค์โดยฝีมือของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ลาดกระบังจำนวน 20คน เพื่อนำเสนอแนวคิดของการผสมผสานนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมาผสมผสานกับประเพณีไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงโลกยุคดิจิตอลในวันนี้ เป็นการแสดงความเคารพและการรู้คุณค่าของพระแม่คงคาที่หล่อเลี้ยงชีวิต ผลิตผลการเกษตร และศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในบรรยากาศลอยกระทงนานาชาติเออีซี ของ 10 ประเทศที่จะผสานรวมฐานการตลาดและการผลิตเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่ช้า
ซูเปอร์ลอยกระทงไฮเทคAEC2012 สร้างสีสันความแปลกใหม่ของงานลอยกระทงนานาชาติในบรรยากาศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ที่กำลังจะมาถึง ด้วยนวัตกรรม “ซูเปอร์ลอยกระทงไฮเทค AEC 2012” , ผสมผสานเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้ากับการสืบสานประเพณีลอยกระทง...ที่มีมายาวนานจากสมัยสุโขทัยมาจนถึงโลกยุคดิจิตอลในวันนี้ เป็นการแสดงคารวะและกตัญญุตาต่อพระแม่คงคาที่หล่อเลี้ยงชีวิต แหล่งผลิตอาหารและเศรษฐกิจไทยเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ในการทำงานร่วมกันโดยนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เรียนมาประยุกต์ใช้จริงและให้เกิดประโยชน์
นายสุรวุฒิ อ่อนใจเอื้อ หัวหน้าทีมนักศึกษาวิศวลาดกระบังกว่า 20 คน ที่ร่วมสร้างสรรค์ซูเปอร์กระทงไฮเทค 2012 นี้ กล่าวว่า ”วัสดุที่ใช้ กลีบกระทงทำด้วยโครงอลูมิเนียมและผ้า ,ฐานกระทง ทำด้วยแผ่นไม้ ผ้าและวัสดุเบา ส่วนเสาโทรคมนาคมใช้วัสดุพลาสติก PVC การควบคุมการทำงานการเคลื่อนไหวขึ้น-ลงและการบาน-หุบของกลีบกระทงจะใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อควบคุมความเร็วมอเตอร์ในการขึ้นลงให้มีลีลาสวยงาม ส่วนแสงไฟที่ประดับกระทงสามารถเลือกแสดงสีสันต่างๆได้อย่างตระการตา เป็นการแสดงคารวะและกตัญญุตาต่อพระแม่คงคาที่หล่อเลี้ยงชีวิต แหล่งผลิตอาหารและเศรษฐกิจไทย “
ผศ.ดร.คมสัน มาลีสี (Komson Maleesee)รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า “ บรรยากาศงานลอยกระทงครั้งนี้ยังจัดเป็นพิเศษในสีสันนานาชาติของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งนักศึกษาแต่งกายชุดประจำชาติของอาเซียน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และลาว ต่างมาร่วมขบวนพาเหรดลอยกระทง ซุ้มแสดงวัฒนธรรมและซุ้มอาหารนานาชาติ พร้อมกิจกรรมการแสดงบนเวที นับเป็นอีกหนึ่งสีสันของงานลอยกระทงปี2555"